การสร้างแบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

  • ณัฐารส ภูคา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
คำสำคัญ: แบบวัด, การคิดเชิงระบบ, คุณภาพ, เกณฑ์ปกติ

บทคัดย่อ

จุดมุ่งหมายในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อสร้างและหาคุณภาพแบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบ (Systems thinking) และสร้างเกณฑ์ปกติสำหรับใช้กับแบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบ (Systems thinking) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดพิจิตร จำนวน 370 คน จากนักเรียนทั้งหมด 23 โรง ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling)  ผลการวิจัย พบว่า 1. แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบ (Systems thinking) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 1 ฉบับ 5 สถานการ์ 20 คำถาม มีคุณภาพ ดังนี้ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 มีค่าความยากตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.80 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.90 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัคเท่ากับ 0.976 2. แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบ (Systems thinking) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีเกณฑ์ปกติสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดพิจิตร อยู่ในช่วงคะแนนตั้งแต่ T24 ถึง T70 แบ่งออกเป็นระดับดีมาก ดี พอใช้ อ่อน  ควรได้รับการพัฒนา

เผยแพร่
16-04-2024